Welcome to Tapioca

มันสำปะหลัง คือ
องค์ประกอบหัวมันฯ
ประโยชน์ของมันสำปะหลัง
โรคและแมลงศัตรู
เพลี้ยแป้งและวิธีแก้ไข
โรคและแมลงศัตรูต่างๆ
   
 
สมาคมการค้า
มันสำปะหลังไทย
สมาคมแป้งมัน
สำปะหลังไทย
ส.โรงงานผู้ผลิต
มันสำปะหลัง
ภาคตะวันออก
เฉียงเหนือ

ส.โรงงาน
ผลิตภัณฑ์มัน
สำปะหลังไทย
 
 
 
โรคและแมลงศัตรูพืช

      ในสภาพการปลูกทั่วไป มันสำปะหลังมีศัตรูพืชเข้าทำลายเพียงเล็กน้อย
หากพบระบาดรุนแรงควรดำเนินการ ดังนี้ โรคที่สำคัญและการป้องกันกำจัด

โรค

สาเหตุ

ลักษณะอาการ

ช่วงเวลาระบาด

การป้องกันกำจัด

โรค
ใบไหม้
เชื้อ
แบคทีเรีย

ใบ เริ่มมีจุดแผลรูปเหลี่ยม ฉ่ำน้ำ เหี่ยวคล้ายน้ำร้อนลวกเมื่อแผล
ขยายติดกันทำให้เกิดอาการใบ
ไหม้ใบร่วงหล่นมีอาการตายจาก
ยอดและลามลงสู่ต้นที่ลำต้นอาจพบ
อาการเปลือกแตก ยางไหล ภายใน
ลำต้นมีสีดำ

ระบาดรุนแรง
ในช่วงฝนตก
ชุก
-ปลูกพันธุ์ทนทานต่อโรค คือ ระยอง 90
-ไม่ใช้ท่อนพันธุ์จากแหล่ง
และแปลงที่มีโรคระบาด
-เก็บส่วนต้นและใบที่เป็นโรค เผาทำลายนอก แปลงปลูก
-ในแหล่งที่โรคระบาดรุนแรง ให้ปลูกพืชหมุนเวียน เช่น ข้าวโพด ข้าวฟ่าง หรือ พืชตระกูลถั่ว เป็น เวลาไม่น้อยกว่า 6 เดือน

ไรและแมลงศัตรูที่สำคัญและการป้องกัน

ไรและแมลงศัตรู

ลักษณะและการทำลาย

ช่วงเวลาระบาด

การป้องกันกำจัด

ไรแดง มี 2 ชนิด คือ ไรแดงหม่อน และ ไรแดง มันสำปะหลัง

ตัวอ่อนมี 6 ขา ตัวกลมใส ตัวเต็ม
วัยมีสีแดงเข้ม กว้าง 0.4 มิลลิเมตร ยาวประมาณ 0.5 มิลลิเมตiส่วนขา ไม่มีสีอยู่รวมกันเป็นกลุ่มไรแดงหม่อน
ดูดกินน้ำเลี้ยงตามใต้ใบจากส่วนใบ
ล่างและขยายปริมาณขึ้นส่วนยอด
ไรแดงมันสำปะหลังดูดกินน้ำเลี้ยงบน
หลังใบของส่วนยอดและขยายปริมาณ
ลงสู่ใบส่วนล่าง ทำให้ตาลีบ ใบเหลืองซีด ม้วนงอ และร่วง

ระบาดรุนแรงในสภาพ
อากาศแห้งแล้งหรือฝน
ทิ้งช่วงเป็นเวลานาน

* หลีกเลี่ยงการปลูกมัน
สำปะหลัง ในช่วงที่ต้นอ่อน จะกระทบแล้งนาน
* เก็บส่วนของพืชที่ถูกทำลาย เผาทำลาย
นอกแปลงปลูก
* หากพบการระบาดรุนแรง
ในระยะมันสำปะหลัง เป็นต้น
อ่อน พ่นสารป้องกันกำจัด
ตามตารางที่ 1

เพลี้ยแป้งลาย

ตัว อ่อนสีเหลืองอ่อน ตัวเต็มวัย ค่อนข้างแบนบนส่วนหลังด้านข้างและ
ส่วนหางมีแป้งคลุม ลำตัวกว้าง 1.8
มิลลิเมตร ยาว 3.0 มิลลิเมตร หาง
ยาว 1.6 มิลลิเมตร ตัวอ่อนและ ตัวเต็มวัย ดูดกินน้ำเลี้ยงตามเลี้ยง
ต่าง ๆ ของพืช เช่น ใบ ยอด และ
ตา ถ่ายมูลหวาน ทำให้เกิดราดำพืช สังเคราะห์แสงได้น้อยลำต้นมีช่วงข้อ
ถี่ยอดแห้งตายหรือแตกพุ่ม ถ้าเกิดกับมัน สำปะหลังี่เป็นต้นอ่อน จะมีผลต่อการสร้างหัว

ระบาดรุนแรงในสภาพ
อากาศแห้งแล้งหรือฝน
ทิ้งช่วงเป็นเวลานาน
* หลีกเลี่ยงการปลูกมัน
สำปะหลัง ในช่วงที่ต้นอ่อน จะกระทบแล้งนาน
* เก็บส่วนของพืชท
ี่ถูกทำลาย เผาทำลายนอก
แปลงปลูก
* หากพบการระบาดรุนแรง
ในระยะมันสำปะหลัง เป็น
ต้นอ่อน พ่นสารป้องกัน
กำจัด ตามตารางที่ 1
แมลงหวี่ขาว เป็น แมลงขนาดเล็ก ยาวประมาณ 2 มิลลิเมตร ปีกบางใส 2 คู่ คลุมเลยส่วนท้อง ตาแดง อยู่รวมกันเป็นกลุ่ม และเกาะนิ่งอยู่ใต้ใบมันสำปะหลัง ตัวอ่อนและตัวเต็มวัยดูดกินน้ำเลี้ยง
จากส่วนใต้ใบพืช และถ่ายมูหวาน ทำให้เกิดราดำ พืชสังเคราะห์แสง
ได้น้อย ใบม้วนซีด และร่วง
ระบาดรุนแรงในสภาพ
อากาศแห้งแล้ง หรือฝนทิ้งช่วงเป็น
เวลานาน
* หลีกเลี่ยงการปลูกมัน
สำปะหลัง ในช่วงที่ต้นอ่อน จะกระทบแล้งนาน
* เก็บส่วนของพืชที่ถูกทำลาย เผาทำลายนอก
แปลงปลูก
* หากพบการระบาดรุนแรง
ในระยะมันสำปะหลัง เป็น
ต้นอ่อน พ่นสารป้องกัน
กำจัด ตามตารางที่ 1

ตารางที่ 1 การใช้สารป้องกันกำจัดไร และแมลงศัตรูมันสำปะหลัง

ไรและแมลงศัตรู มันสำปะหลัง

สารป้องกันกำจัดไร และแมลงศัตรูพืช

อัตราการใช้น้ำ /
20 ลิตร

วิธีการใช้ / ข้อควรระวัง

หยุดการใช้สาร ก่อนการเก็บเกี่ยว

ไรแดง อามีทราช (20% อีซี)
ไดโคโฟล (18.5% อีซี)

40 มิลลิลิตร
50 มิลลิลิตร

* พ่นเฉพาะบริเวณที่มีไรแดงทำลาย เมื่อใบส่วนยอดของต้นอ่อนเริ่มแสดง
อาการม้วน งอ และอยู่ในสภาพอากาศ
แห้งแล้ง เป็นเวลานาน
14 วัน
เพลี้ยแป้งลาย มาลาไทออน (83% อีซี)

15 มิลลิลิตร

* พ่นใต้ใบ เฉพาะบริเวณที่พบเพลี้ยแป้งลาย มีความหนาแน่นบนส่วนยอด 20 – 30%
7 วัน 
แมลงหวี่ขาว โอเมโทเอต (60% เอสแอล)

40 มิลลิลิตร

* พ่นใต้ใบ เฉพาะบริเวณที่พบแมลงหวี่ขาว
มีความหนาแน่นทั้งต้น ประมาณ 30%

21 วัน

ที่มา : กรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (หนังสือเกษตรดีที่เหมาะสมสำหรับมันสำปะหลัง)